วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556

Linux คืออะไร

Linux คืออะไร ?


linux
   รู้จักกับลีนุกซ์

ลีนุกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการเช่นเดียวกับ ดอส ไมโครซอฟต์วินโดวส์ หรือยูนิกซ์ โดยลีนุกซ์นั้นจัดว่าเป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ประเภทหนึ่ง การที่ลีนุกซ์เป็นที่กล่าวขานกันมากขณะนี้ เนื่องจากความสามารถของตัวระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในตระกูลของ GNU (GNU's Not UNIX) และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทฟรีแวร์ (Free Ware) คือไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อโปรแกรม
ระบบลีนุกซ์ตั้งแต่เวอร์ชั่น 4 นั้น สามารถทำงานได้บนซีพียูทั้ง 3 ตระกูล คือบนซีพียูของอิลเทล (PC Intel) ดิจิตอลอัลฟาคอมพิวเตอร์ (Digital Alpha Computer) และซันสปาร์ค (SUN SPARC) เนื่องจากใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า RPM (Red Hat Package Management) ถึงแม้ว่าในขณะนี้ลีนุกซ์ยังไม่สามารถแทนที่ไมโครซอฟต์ วินโดวส์ บนพีซีหรือแมคโอเอส (Mac OS) ได้ทั้งหมดก็ตาม แต่ผู้ใช้จำนวนไม่น้อยที่หันมาใช้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนลีนุกซ์กัน และเรื่องของการดูแลระบบลีนุกซ์นั้น ภายในระบบลีนุกซ์เองมีเครื่องมือช่วยสำหรับดำเนินการให้สะดวกยิ่งขึ้น

   การนำลีนุกซ์มาใช้งาน
ปัจจุบันได้มีการนำระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ไปประยุกต์เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับงานด้านต่างๆเช่นงานด้านการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ใช้เป็นสถานีงาน สถานีบริการ อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต หรือใช้ใน การเรียนการสอนและการทำงิจัยทางคอมพิวเตอร์ใช้พัฒนาโปรแกรมเนื่องจาก มีเครื่องมือมากมาย เช่น โปรแกรมภาษาซี (C) ซีพลัสพลัส (C++) ปาสคาล (Pascal) ฟอร์แทรน (Fortran) ลิสป์ (Lisp) โปรล็อก (Prolog) เอดา (ADA) มีภาษาสคริปต์ เช่น เชลล์ (Shell) บาสช์เชลล์ (Bash Shell) ซีเชลล์ (C Shell) คอร์นเชลล์ (Korn Shell) เพิร์ล (Perl) พายตัน (python) TCL/TK
นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมประยุกต์ในสาขาต่างๆ อีกมากมาย โดยข้อมูลของโปรแกรมเหล่านี้ได้รวบรวมไว้ที่ Linux Software Map (LSM)

   อนาคตของลีนุกซ์
ลีนุกซ์นั้นมีนักพัฒนาโปรแกรมจากทั่วโลกช่วยกันทำให้การขยายตัวของลีนุกซ์เป็นไปอย่างรวดเร็วโดยในส่วนของแกนระบบปฏิบัติการ หรือเคอร์เนลนั้นจะมีการพัฒนาเป็นรุ่นที่ 2.2 (Linux Kernel 2.2) ซึ่งได้เพิ่มขีดความสามารถและสนับสนุนการทำงานแบบหลายตัวประมวลผลแบบ SMP (Symmetrical Multi Processors) ซึ่งทำให้ระบบลีนุกซ์สามารุนำไปใช้สำหรับทำงานเป็นเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ได้ และยังมีโครงการสนับสนุนการใช้งานบรระบบลีนุกซ์อีกหลายโครงการ เช่น KDE (The K Desktop Environment) และ GNOME (GNU Network Object Model Environment) ซึ่งจะช่วยพัฒนา desktop บนลีนุกซ์ให้สมบูรณ์เทียบเท่ากับ Windows 98 ของไมโครซอฟท์ และบรรดาบริษัทผู้ผลิตซอฟท์แวร์ทางด้านระบบฐานข้อมูลชั้นนำ อย่างเช่น Informix, Oracle, IBM DB2 ก็เริ่มให้มีสนับสนุนการใช้งานบนระบบลีนุกซ์ แล้วเช่นเดียวกัน

   เตรียมความพร้อมก่อนใช้ลีนุกซ์
ก่อนที่จะทำการติดตั้งก็ต้องเตรียมความพร้อมทางด้านอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้เป็นที่เรียบร้อยก่อน ระบบลีนุกซ์ต้องการฮาร์ดแวร์ที่มีคุณสมบัต ิขั้นต่ำสุดดังต่อไปนี้
1. หน่วยประมวลผลกลางของ Intel 80386 ขึ้นไป
2. หน่วยประมวลผลทางคณิตศาสตร์ มีหรือไม่มีก็ได้ เพราะระบบปฏิบัติการ Red Hat Linux ได้มีการจำลอง หน่วยประมวลผลทางคณิตศาสตร์ไว้ในระดับของเคอร์เนล (Kernel) แล้ว
3. หน่วยความจำอย่างน้อย 8 เมกะไบต์ แต่แนะนำให้มีอย่างน้อย 16 เมกะไบต์จะทำให้ระบบมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า
4. ฮาร์ดดิสก์อย่างน้อย 101 เมกะไบต์ สำหรับการติดตั้งแบบพื้นฐาน 266 เมกะไบต์ สำหรับการติดตั้งแบบทั่วไป และ 716 เมกะไบต์ สำหรับการติดตั้งแบบทั้งหมดตัวเลขที่ระบุทั้งหมดเฉพาะส่วนระบบปฏิบัติการ ถ้าต้องการใช้เป็น File Server หรือ Database Server จะ ต้องเผื่อเนื้อที่ไว้สำหรับใช้งานด้วย ส่วนแหล่งของโปรแกรมลีนุกซ์นั้นสามารถหาได้ฟรีตามเว็บไซท์ เช่น www.linux.org/dist/ftp.html

สิ่งที่ควรทราบก่อนการติดตั้ง
  1. คุณสมบัติของฮาร์ดดิสก็ที่ต้องการติดตั้ง
    • จำนวนของฮาร์ดดิสก็ที่ต้องการติดตั้ง
    • ขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์ที่จะใช้ในการติดตั้ง
    • ประเภทการเชื่อมต่อของฮาร์ดดิสก์ที่จะใช้ในการติดตั้ง IDE, EIDE หรือ SCSI
    • มีการใช้ประเภทการเชื่อมต่อของฮาร์ดดิสก์หลายๆ ประเภทในเครื่องเดียวกันหรือไม่
  2. ขนาดของหน่วยความจำหลัก เพื่อที่จะคำนวณหาขนาดของ Linux Swap Partition
  3. ประเภทการเชื่อมต่อของเครื่องอ่านซีดีรอม IDE (ATAPI), SCSI
  4. รุ่นและยี่ห้อของแผงวงจรเชื่อมต่อ SCSI
  5. รุ่นและยี่ห้อของแผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย
  6. จำนวนปุ่มกด และประเภทเชื่อมต่อของเมาส์
  7. รุ่นและยี่ห้อของแผงวงจรเชื่อมต่อจอภาพ รุ่นและยี่ห้อของจอภาพ
  8. รายละเอียดการกำหนดโปรโตคอล TCP/IP ของเครื่องที่ต้องการติดตั้ง
    • IP Address
    • Net Mask
    • GateWay Address
    • Name Server Address
    • Domain Name
    • Host Name


Unix คืออะไร

Unix คืออะไร ?

อุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ก็มีมากมายหลายชิ้นแต่เคยสงสัยกันบ้างหรือเปล่าว่าเจ้าคอมพิวเตอร์ รู้จักอุปกรณ์เหล่านี้ได้อย่างไรและติดต่อรับส่งข้อมูลกับอุปกรณ์เหล่านี้ได้อย่ างไรการท่ จะทำให้คอมพิวเตอร์ใช้อุปกรณ์ เหล่านี้ร่วมกันทำงานได้ก็จะต้องมีอะไรสักอย่างหนึ่งมาดูแลควบคุมใช่ไหม?สิ่งที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของ อุปกรณ์ทั้งหมดที่รวมอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ก็คือ"ระบบปฏิบัติการ"(Operating System) หรือที่เราเรียกกันสั้นๆ ว่ า โอเอส (OS)เจ้าตัวระบบปฏิบัติการที่ว่านี้ไม่ได้ทำหน้าที่ ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆเท่านั้นแต่มันยังมีหน้าที่ รับคำสั่งที่ป้อนจากผู้ใช้มาแปลเพื่อสั่งให้เครื่อง คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการอีกด้วยในปัจจุบันมีระบบปฏิบัติการ มากมายหลายชนิดหลายระบบให้เลือกใช้ตามความต้องการของแต่ละบุคคล หรือ หน่วยงานเช่น ดอส (DOS) วินโดว์ส (WINDOWS)โอเอส/ทู (OS/2) ยูนิกซ์ (UNIX) เป็นต้น


ยูนิกซ์ คืออะไร

ยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทหนึ่ง ที่เป็นเทคโนโลยีแบบเปิด (open system)ซี่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้อง ผูกติด กับระบบใดระบบหนึ่งหรืออุปกรณ์ยี่ห้อเดียวกัน นอกจากนี้ยูนิกซ์ยังถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองการใช้งานใน ลักษณะให้มีผู้ใช้ได้หลายคน ในเวลาเดียวกัน เรียกว่า มัลติยูสเซอร์ (multiusers)และสามารถทำงานได้หลายๆงานใน เวลาเดียว กันในลักษณะที่เรียกว่ามัลติทาสกิ้ง (multitasking)
การเข้าใช้งานยูนิกซ์

การที่ผู้ใช้จะขอใช้บริการบนระบบยูนิกซ์ได้นั้นจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ดูแลระบบหรือที่เรียกว่าซิสเตมแอดมินิสเตรเตอร์ (System Administrator) ก่อน หลังจากนั้นผู้ใช้จะได้รับรายชื่อผ ู้ใช้หรือล๊อกอินเนม (login name) และรหัสผ่าน (password) มา แต่บางระบบ จะมีรายชื่ออิสระเพื่อให้ผู้ใช้ชั่วคราว โดยอาจมีล๊อกอินเนมเป็น guest,demo หรือ fieldซึ่งจะไม่ต้องใช้รหัสผ่าน การเข้าใช้ระบบเราเรีนกว่า ล๊อกอิน (login) โดยทั่วไปเมื่อระบบพร้อมที่จะให้บริการจะปรากฏข้อความว่า login:หรือข้อความใน ลักษณะที่คล้ายๆ กันรวมเรียกว่า พรอมต์ล๊อกอิน (Prompt log in)เมื่อปรากฏหรอมต์แล้วก็ให้พิมพ์ล๊อกอินเนมของผู้ใช ตามด้วย การกดปุ่มจากนั้นระบบจะสอบถามรหัสผ่าน ก็พิมพ์รหัสที่ถูกต้องลงไปตามด้วยปุ่มซึ่งรหัสผ่านที่พิมพ์ลงไปจะไม่ถูกแสดงผลออก ทางจอภาพเมื่อรหัสผ่านถูกต้องก็จะปรากฏเครื่องหมาย $ ซึ่งเป็นเครื่องหมายเตรียมพร้อมของระบบ
รูปที่ 1 แสดงการขอเข้าใช้ระบบยูนิกซ์

หมายเหตุ : ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จะถือความแตกต่างกันระหว่างตัวอักษรตัวเล็ก กับตัวอักษรตัวใหญ่ด้วย เช่น FILE1, File1,file1 จะไม่เหมือนกัน ดังนั้นการใส่รหัสผ่าน จะต้องเช็คให้ดี ๆ
คำสั่งพื้นฐานในการจัดการเกี่ยวกับไฟล์ในยูนิกซ์

$ ls [-altCF] [directory …]
เป็นการแสดงชื่อไฟล์ที่มีอยู่ในไดเรกทอรี่ที่ระบุ ถ้าไม่ระบุจะแสดงสิ่งที่อยู่ในรากปัจจุบัน) โดยแสดงในรูป แบบที่มีมากกว่า 1 ชื่อต่อ 1 บรรทัด คล้ายกับคำสั่ง DIR/W ระบบปฏิบัติการดอสพารามิเตอร์บางส่วนของคำสั่งเป็น ดังนี้ 
a    แสดงชื่อไฟล์ที่ซ่อนไว้
l    แสดงรายชื่อแบบยาว
t    เรียงลำดับไฟล์ตามลำดับเวลาที่มีการแก้ไขล่าสุด
C    แสดงชื่อไฟล์มากกว่าหนึ่งชื่อในแต่ละบรรทัดแต่ถูกคั่นด้วย tab
F    แสดงฃื่อรากตามด้วยเครื่องหมาย /และชื่อไฟล์ที่ทำงานได้ด้วยเครื่องหมาย *รายละเอียดของไฟล์


แสดง<wbr>คำ<wbr>สั่ง ls -al
รูปที่ 2 แสดงการใช้คำสั่ง ls

จากรูปที่ 2 จะเห็นถึงการแสดงผลของคำสั่ง ls ที่มีพารามิเตอร์ -al คือแสดงผลในแบบยาว รวมถึงไฟล์ซ่อนด้วย ซึ่งจะเห็นรายละเอียดต่าง ๆ ของไฟล์และมีบางส่วนที่ควรรู้คือ
  • คอลัมน์แรก ตัวอักษร 10 ตัวบอกประเภทของไฟล์และบอกถึงสิทธิการใช้งานไฟล์นั้น
    _ r w x r w x r w x
    อักษรตัวแรก บอกประเภทของไฟล์ สัญลักษณ์ที่ควรรู้มี 2 ตัวคือ
         "-" เป็นไฟล์ทั่วไป
         "d" เป็นไดเรกทอรี่
         "l" เป็นลิงค์ไฟล์ (ใช้การเรียกไฟล์ที่ไม่ได้อยู่ในไดเรกทอรี่ที่เราอยู่) 
    อักษร 3 ตัวกลุ่มที่ 1 บอกถึงสิทธิในการใช้ไฟล์นั้นๆของเจ้าของไฟล์หรือผู้สร้างไฟล์ (owner)
    อักษร 3 ตัวกลุ่มที่ 2 บอกถึงสิทธิในการใช้ไฟล์นั้นๆ ของกลุ่มเจ้าของไฟล์ (group)
    อักษร 3 ตัวกลุ่มที่ 3 บอกถึงสิทธิในการใช้ไฟล์นั้นๆ ของบุคคลอื่น ๆ (other) โดยที่สัญลักษณ์ของอักษรแต่ละกลุ่มจะเหมือนกันดังนี้
      • ตำแหน่งที่ 1 ของกลุ่ม "r" หมายถึงสามารถอ่านได้
      • ตำแหน่งที่ 2 ของกลุ่ม "w" หมายถึงสามารถแก้ไขได้
      • ตำแหน่งที่ 3 ของกลุ่ม "x" หมายถึงสามารถเอ็กซีคิวต์ได้ (เปิดไฟล์นั้นได้)
  • คอลัมน์ที่ 2 เป็นหมายเลขบอกถึง ไดเรกทอรี่ย่อยที่อยู่ภายใน ไฟล์ หรือไดเรกทอรี่นั้นๆถ้าเป็นไฟล์คอลัมน์นนั้นจะ เป็นหมายเลข 1 เสมอ
  • คอลัมน์ที่ 3 แสดงชื่อเจ้าของไฟล์ (owner)
  • คอลัมน์ที่ 4 แสดงชื่อของกลุ่มที่เป็นเจ้าของไฟล์ (group)
  • คอลัมน์ที่ 5 แสดงขนาดของไฟล์
  • คอลัมน์ที่ 6 แสดงวันเวลาที่แก้ไขไฟล์ล่าสุด
  • คอลัมน์สุดท้าย แสดงชื่อไฟล์ โดยถ้าเป็นไฟล์ซ่อนจะมี "."(จุด)อยู่หน้าไฟล์นั้น
$ pwd
คือคำสั่งที่ใช้เช็คว่าไดเรกทอรี่ปัจจุบันอยู่ที่ตำแหน่งใดแต่ก่อนที่เราจะมาดูรายละเอียดอื่นเรามารู้จักคำว่าไดเรกทอรี่ กันก่อนดีกว่า ไดเรกทอรี่(directory) เนื่องจากไฟล์โปรแกรม หรือข้อมูลต่าง ๆ มีเป็นจำนวนมากทำให้ยากต่อการค้นหาจึงต้องมี การจัดระบบหมวดหมู่ของไฟล์ เป็นไดเรกทอรี่โดยไดเรกทอรี่ก็เปรียบเสมือน  กล่องใบหนึ่งโดยไดเรกทอรี่ราก (root directoty) ก็เปรียบเสมือนกล่องใบใหญ่ที่สุดซึ่งจะสามารถนำกล่องใบเล็กๆซ้อนเข้าไปและนำไฟล์ซึ่งเปรียบเสมือนหนังสือจัดเก็บเป็นหมวด หมู่ภายใน กล่องเล็กๆเหล่านั้น และภายในกล่องเล็กๆนั้นก็อาจจะมีกล่องและหนังสือที่เล็กกว่าอยู่ภายในอีกด้วยเหตุนี้ไฟล์จะถูกจัด ไว้เป็นหมวดหมู่ง่ายต่อการค้นหาทีนี้เมื่อเราต้องการจะหาหนังสือสักเล่มที่อยู่ภายในกล่องนั้นเราก็ต้องรู้ว่าหนังสือเล่มนั้นอยู่ในกล่อง ไหนและกล่องที่ใส่หนังสือนั้นอยู่ภายในกล่องอื่นๆอีกหรือไม่เราเรียกเส้นทางที่อยู่ของแต่ละไฟล์ว่า "พาท" (path)


การ<wbr>ใช้<wbr>คำ<wbr>สั่ง pwd
รูปที่ 3 แสดงการทำงานของคำสั่ง pwd

จากผลลัพธ์ที่ได้จะเห็นได้ว่า user (muntana) อยู่ใน directory ของ cpc ซึ่งเป็น subdirectory ของ home และ directory homeก็จะอยู่ภายใต้ root จะสังเกตว่า เมื่อล็อกอินเข้ามาใหม่ และใช้คำสั่ง pwd จะแสดงพาทที่ตัวเองอยู่ซึ่งไม่ใช่ไดเรกทอรี่ ราก (ไม่เหมือนบนดอสหรือวินโดว์สที่เริ่มจากไดเรกทอรี่ราก) เพราะว่าในระบบยูนิกซ์จะมีโฮมไดเรกทอรี่ (home directoty) ซึ่งกำหนดโดยผู้ดูแลระบบและเราไม่สามารถเปลี่ยนได้
หมายเหตุ เมื่อใช้คำสั่ง ls -a จะปรากฎไฟล์แปลก ๆ ขึ้นมา 2 ตัวคือ "." และ ".."
ไฟล์   "." หมายถึงไดเรกทอรี่ที่เราอยู่ปัจจุบัน
 ไฟล์ ".." หมายถึงไดเรกทอรี่ที่อยู่ก่อนหน้านี้ 1 ชั้น 
เช่น ถ้าเราอยู่ที่ตำแหน่ง /home/cpc/muntana
ไฟล์ "." หมายถึง /home/cpc/muntana
 ไฟล์ ".." หมายถึง /home/cpc
$ cd [ชื่อพาท]
เป็นการเปลี่ยนไดเรกทอรี่ไป เป็นไดเรกทอรี่ที่ต้องการ โดยในการใช้คำสั่งนี้ต้องคามด้วยชื่อพาท เช่น เมื่อเราอยู่ในพาท /data1/home/cpc/muntana และเมื่อเช็คดูแล้วว่ามีไดเรกทอรี่ชื่อ mail จากนั้นพิมพ์ $ cd mail  หมายความว่าเป็นการเข้าไปใน กล่องที่ชื่อ mail จากตำแหน่ง ปัจจุบัน  เพราะฉนั้นตอนนี้เราจะอยู่ใน พาท /data1/home/cpc/muntana/mail ซึ่งวิธีที่กล่าวมาเป็น การอ้างอิงสัมพันธ์กับตำแหน่งปัจจุบันแต่เรามีอีกวิธีหนึ่งคือการอ้างอิงโดยตรง ทำได้โดยการพิมพ์


 การ<wbr>ใช้<wbr>คำ<wbr>สั่ง cd
รูปที่ 4 แสดงการใช้คำสั่ง cd

            ซึ่งการอ้างอิงแบบนี้มีประโยชน์เมื่อมีการอ้างถึงไดเรกทอรี่ที่ไม่อยู่ติดกันจะสะดวกกว่าในกรณีที่เราต้องการออกจากไดเรกทอรีที่เรา อยู่ไปหนึ่งชั้นให้ใช้คำสั่ง  $ cd ..   ในกรณีที่เราต้องการกลับไปยังไดเรกทอรี่รากโดยตรงก็ใช้คำสั่ง $ cd /
หมายเหตุ  ถ้าใช้คำสั่ง $ cd โดยไม่มีพาทต่อท้ายจะเป็นการกลับมายังโฮมไดเรกทอรี่ที่กล่าวมาเเล้วข้างต้น
$ mkdir [ชื่อไดเรกทอรี่]
คือคำสั่งที่ใช้ในการสร้างไดเรกทอรี่ใหม่ขึ้น โดยอ้างอิงพาทเช่นเดียวกับคำสั่ง cd เช่น $ mkdir test  แล้วใช้คำสั่ง ls เพื่อเช็คดูจะพบไดเรกทอรี่ ชื่อ test
$ rmdir [ชื่อไดเรกทอรี่]
คือการลบไดเรกทอรี่ที่มีอยู่แต่ไดเรกทอรี่ที่ลบจะต้องไม่มีไฟล์หรือไดเรกทอรี่ย่อยอยู่ภายในนั้น
$ rm [ชื่อไฟล์]
คือการลบไฟล์ที่อ้างถึง
$ cat [ชื่อไฟล์]
เป็นการแสดงข้อความในไฟล์ที่เป็นเท็กซ์ไฟล์ (Text Files : ไฟล์ตัวอักษร) แสดงบนจอภาพ
$ mv [ชื่อไฟล์ต้นทาง] [ชื่อไฟล์ปลายทาง]
คือการย้ายไฟล์ (move) จากพาทใดๆที่อ้างอิงถึงไปยังพาทปลายทาง เช่น ถ้าเรามีไฟล์ชื่อ dead.letterอยู่ที่โฮม ไดเรกทอรี่และ เราต้องการย้ายมันไปที่ไดเรกทอรี่ mail ซึ่งอยู่ภายในโฮมไดเรกทอรี่ของเราเอง ทำได้โดยสั่ง                
$ mv /data1/home/cpc/muntana/temp /data1/home/cpc/muntana/mail                
หรือ       $ mv temp /home/cpc/muntana/mail                
หรือ       $ mv temp mail                
หรือ       $ mv temp ./mail                
หรือ       อาจจะอ้างแบบอื่นตามรูปแบบการอ้างอิงพาทก็ย่อมได้


การ<wbr>ใช้<wbr>คำ<wbr>สั่ง mv
รูปที่ 5 แสดงการใช้คำสั่ง mv

$ more
เป็นการแสดงข้อความในไฟล์ทีละหน้าจอแล้วหยุดรอจนกว่าผู้ใช้จะกดคีย์ช่องว่าง (space bar)จึงจะแสดงข้อมูลหน้า ถัดไปหรือกด Enter เพื่อแสดงข้อมูลบรรทัดถัดไปทีละบรรทัด และในขณะที่อยู่ภายในคำสั่ง more จะมีคำสั่งย่อยอีก 2 คำสั่ง คือ
               q ออกจากการทำงาน
               h ขอให้แสดงข้อความช่วยเหลือ (help)
$ cp [ชื่อไฟล์ต้นฉบับ] [ชื่อไฟล์สำเนา]
เป็นคำสั่งคัดลอก (copy) ข้อมูลจากไฟล์หนึ่ง ไปยังปลายทางที่ต้องการโดยใช้การอ้างอิงพาทลักษณะเดียวกับคำสั่ง mv การอ้างอิงชื่อไฟล์นอกจากการพิมพ์ชื่อไฟล์เต็มๆ โดยตรงแล้วยังมีการอ้างอิงถึงชื่อไฟล์โดยใช้สัญลักษณ์พิเศษอีก 2 ตัว คือ "*" และ "?"
 ? ใช้อ้างอิงแทนตัวอักษร สัญลักษณ์พิเศษ หรือ ตัวเลขใดๆ 1 ตัวอักษร เช่นเมื่อเราจะอ้างอิงถึงไฟล์ unix ? หมายถึง ไฟล์ทุก ไฟล์ที่ชื่อขึ้นต้นด้วย unix และตามด้วยตัวอะไรก็ได้อีก 1 ตัว อาจจะเป็น unixa unixx unix_ หรือ unix1 เป็นต้น
 * ใช้อ้างอิงแทนตัวอักษร สัญลักษณ์พิเศษ หรือ ตัวเลขใดๆ กี่ตัวอักษรก็ได้ เช่น เมื่อเรา อ้างอิงถึงไฟล์ unix* จะหมายถึง ไฟล์ทุกไฟล์ที่ขึ้นต้นด้วย unix โดยจะต่อท้ายด้วยตัวอะไรก็ได้กี่ตัวก็ได้ ซึ่งอาจจะเป็น unix_tue unix1234 เป็นต้น
เราสามารถนำการอ้างอิงชื่อไฟล์ข้างต้นไปใช้กับคำสั่ง ls mv cp rm ได้ เช่น
ls -al .p* หมายถึง การขอดูรายชื่อไฟล์ทุกไฟล์ที่ขึ้นต้นด้วย .p (คือเป็นไฟล์ซ่อนที่ขึ้นต้นด้วย p )
cp .pine_debug? . /mail หมายถึง การคัดลอกไฟล์ทุกไฟล์ที่ขึ้นต้นด้วย .pine_debug และตามด้วยตัวอักษรใดๆ 1 ตัว ไปยังไดเรกทอรี่ mail
คำสั่งในการตรวจสอบและติดต่อกับผู้ใช้ที่กำลังอยู่ในระบบ

$ who am i
เป็นการแสดงข้อมูลการเข้าระบบของตัวเอง
$ who
เป็นการแสดงชื่อผู้ที่ใช้ขณะนี้อยู่ในระบบที่เรากำลังใช้งานอยู่


การ<wbr>ใช้<wbr>คำ<wbr>สั่ง who
รูปที่ 6 แสดงการทำงานของคำสั่งในการตรวจสอบผู้ที่กำลังอยู่ในระบบ

$ finger [@ชื่อโฮสต์ที่ต้องการทราบ]
เป็นคำสั่งแสดงรายชื่อของผู้ใช้ที่ติดต่ออยู่กับโฮสต์ต่างๆ ตามที่ต้องการ เช่นเราต้องการทราบว่าโฮสต์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศษสตร์ที่ชื่อ std มีใครใช้อยู่บ้าง ก็จะใช้คำสั่ง $ finger @std.cpc.ku.ac.th แสดงดังรูปที่ 7

การ<wbr>ใช้<wbr>คำ<wbr>สั่ง finger
รูปที่ 7 แสดงการใช้คำสั่ง finger
 
 จากรูปที่ 7 จากคำสั่ง finger จะแสดงให้เห็นเป็นคอลัมน์ ดังนี้
คอลัมน์แรกจะแสดงรายชื่อล็อกอิน (Login Name)
คอลัมน์ที่สองจะแสดงชื่อเต็มของบุคคลนั้น
คอลัมน์ที่สามจะแสดงถึงพอร์ตที่เครื่องคมพิวเตอร์ติดต่อเข้ามา และถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่าบางพอร์ตจะมีเครื่องหมาย * อยู่ข้างหน้าคอลัมน์นี้ซึ่งแสดงว่า บุคคลนั้นไม่รับการติดต่อจากบุคคลอื่น
คอลัมน์ที่สี่จะแสดงให้เห็นถึงเวลาที่บุคคลนั้นไม่มีการโต้ตอบกับเครื่องเลย (idle)
คอลัมน์ที่ห้าจะแสดงถึงเวลาที่บุคคลนั้นล็อกอิน (login) เข้ามาที่เครื่องนี้
คอลัมน์สุดท้ายจะแสดงถึงชื่อเครื่องที่ใช้เชื่อมเข้ามาในระบบ อาจจะล็อกอินเข้ามาจาก Modem หรือจากเครื่องอื่น ๆ
ในกรณีที่ใช้คำสั่ง finger โดยไม่ใส่ชื่อโฮสต์ จะหมายถึง เป็นการขอดูรายชื่อผู้ใช้โฮสต์ที่ผู้ใช้ทำการล็อกอินเข้าไป (คล้ายคำสั่ง who)
$ talk [ชื่อแอคเคาท์@ชื่อโฮสต์ที่บุคคลนั้นใช้งานอยู่]
เป็นคำสั่งที่ใช้ในการขอสนทนากับบุคคลที่ต้องการแต่มีข้อแม้ว่าบุคคลนั้นจะต้องไม่มีเครื่องหมาย "*" อยู่หน้าคอลัมน์ที่ 3 โดย รูปแบบของการคุย จะแบ่งหน้าจอออกเป็น 2 ส่วน บน ล่าง โดยส่วนบน คือตัวเรา และส่วนล่างคือบุคคลที่เราติดต่อเข้าไปการ ออกจาก talk ทำได้โดยกดปุ่ม Ctrl+C
$ write [ชื่อแอคเคาท์)
เป็นคำสั่งที่ใช้ในการส่งข้อความไปยังบุคลที่ต้องการแต่บุคคลนั้นต้องใช้งานอยู่ภายในโฮสต์เดียวกัน และไม่มีเครื่องหมาย "*" หน้าคอลัมน์ ที่ 3 จึงจะสามารถส่งข้อความไปได้ เมื่อใช้คำสั่ง write ไปแล้ว เคอร์เซอร์จะขึ้นบรรทัดใหม่จากนั้นก็พิมพ์ข้อความ ที่ต้องการได้ข้อความที่พิมพ์จะถูก ส่งไปหลังการกด Enter การออกจาก write ทำเช่นเดียวกับการออกจาก talk คือ กดปุ่ม Ctrl+C
$ mesg [n,y]
เป็นคำสั่งที่ใช้ในการกำหนดว่าเราจะรับการติดต่อจากบุคคลอื่นหรือไม่ คือถ้าใช้คำสั่ง
$ mesg n จะเป็นการกำหนดให้ตัวเองไม่รับการติดต่อจากบุคคลอื่น คือบุคคลอื่นจะไม่สามารถ talk หรือ write เข้ามาได้ และตัวเองก็จะไม่สามารถ talk หรือ write ไปหา ผู้อื่นได้เช่นกัน (แต่การส่งและรับ mail ยังทำได้ตามปกติ)
$ mesg y จะเป็นการกำหนดให้ตัวเองรับการติดต่อจากบุลคลอื่น

ระบบปฏิบัติการ DOS เป็นอย่างไร

ระบบปฏิบัติการ DOS เป็นอย่างไร?

ระบบปฏิบัติการ (operating system) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของระบบซอฟต์แวร์ ระบบปฏิบัติการประกอบขึ้นจากชุดโปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการดำเนินการต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ และประสานการทำงานระหว่างทรัพยากรต่าง ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนที่เป็นซอฟต์แวร์และส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์ให้เป็นไปย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
ระบบคอมพิวเตอร์ในระดับไมโครคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปใช้ระบบปฏิบัติการที่จัดเก็บอยู่บนแผ่นบันทึกหรือฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อของ เอ็มเอสดอส (Microsort Disk Operating System : MS-DOS) ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์คอร์ปอเรชัน ระบบปฏิบัติการนี้ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตามความต้องการของผู้ใช้และพัฒนาการทางด้านซอฟต์แวร์และฮารด์แวรการเริ่มต้นทำงานของระบบปฏิบัติการดอส 
การเริ่มต้นทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จะเริ่มต้นโดยอัตโนมัติจากส่วนของชุดคำสั่งที่จัดเก็บอยู่ บนหน่วยความจำของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้อ่านได้อย่างเดียวที่เรียกว่ารอม (Read Only Memory : ROM) คำสั่งเหล่านี้จะทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์พื้นฐานและทำการบรรจุระบบปฏิบัติการจากแผ่นบันทึกหรือฮาร์ดดิสก์ ขึ้นสู่หน่วยความจำหลัก หลังจากนี้การควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จะถูกบรรจ ุไปอยู่บนหน่วยความจำหลักเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โปรแกรมหนึ่งในระบบปฏิบัติการดอสที่ถูกบรรจุคือ โปรแกรมคำสั่งที่มีชื่อว่า command.com และกระบวนการเริ่มต้นการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนี้เรียกกันทั่วไปว่า การบูทเครื่อง (boot) คอมพิวเตอร์
การบูทเครื่องคอมพิวเตอร์มีอยู่ด้วยกัน 2 วิธีคือ
1. Cold Boot คือการเปิดเครื่องด้วยสวิตช์ปิดเปิดเครื่อง (power)
2. Worm Boot คือ จะใช้วิธีนี้ในขณะที่เครื่องเปิดอยู่ ในกรณีที่เครื่องค้าง (Hank) เครื่องไม่ทำงานตามที่เราป้อนคำสั่งเข้าไป การบูทเครื่องแบบนี้สามารถกระทำได้อยู่ 2 วิธีคือ
    1. กดปุ่ม Reset
    2. กดปุ่ม Ctrl+Alt+Del พร้อมกัน แล้วปล่อยมือ


ภาพแสดงหน้าจอการบูทเครื่องด้วยระบบปฏิบัติการดอส

ชนิดคำสั่ง DOS
คำสั่งของ DOS มีอยู่ 2 ชนิดคือ
1. คำสั่งภายใน (Internal Command) เป็นคำสั่งที่เรียกใช้ได้ทันทีตลอดเวลาที่เครื่องเปิดใช้งานอยู่ เพราะคำสั่งประเภทนี้ถูกบรรจุลงในหน่วยความจำหลัก (ROM) ตลอดเวลา หลังจากที่ Boot DOS ส่วนมากจะเป็นคำสั่งที่ใช้อยู่เสมอ เช่น CLS, DIR, COPY, REN เป็นต้น
2. คำสั่งภายนอก (External Command) คำสั่งนี้จะถูกเก็บไว้ในดิสก์หรือแผ่น DOS คำสั่งเหล่านี้จะไม่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ เมื่อต้องการใช้คำสั่งเหล่านี้คอมพิวเตอร์จะเรียกคำสั่งเข้าสู๋หน่วยความจำ ถ้าแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ไม่มีคำสั่งที่ต้องการใช้อยู่ก็ไม่สามารถเรียกคำสั่งนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น คำสั่ง FORMAT, DISKCOPY, TREE, DELTREE เป็นต้นรูปแบบและการใช้คำสั่งต่าง ๆ
ในการใช้คำสั่งต่าง ๆ ของ DOS จะมีการกำหนดอักษรหรือสัญญลักษณ์ ใช้แทนข้อความของรูปแบบคำสั่ง ดังนี้
[d:]หมายถึงDrive เช่น A:, B:
[path]หมายถึงชื่อไดเรคเตอรี่ย่อย
[filename]หมายถึงชื่อแฟ้มข้อมูล หรือ ชื่อไฟล์
[.ext]หมายถึงส่วนขยาย หรือนามสกุล
หมายเหตุ ข้อความที่อยู่ในวงเล็บ ([ ] ) ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใส่ในคำสั่ง
รูปแบบและการใช้คำสั่งภายใน (Internal Command)
คำสั่ง
หน้าที่
รูปแบบ
CLS (CLEAR SCREEN)ลบข้อมูลบนจอภาพขณะนั้นCLS
DATEแก้ไข/ดูวันที่ให้กับ SYSTEMDATE
TIMEแก้ไข/ดูเวลา ให้กับ SYSTEMTIME
VER (VERSION)ดูหมายเลข (version) ของดอสVER
VOL (VOLUME)แสดงชื่อของ DISKETTEVOL [d:]
DIR (DIRECTORY)ดูชื่อแฟ้มข้อมูล, เนื้อที่บนแผ่นดิสก์, ชื่อแผ่นดิกส์DIR [d:] [path] [filename [.ext]] [/p] [/w]
  • /p หมายถึง แสดงชื่อแฟ้มข้อมูลทีละ 1 หน้าจอภาพ ถ้าต้องการดูหน้าต่อไปให้กดแป้นใด ๆ
  • /w หมายถึง แสดงชื่อแฟ้มข้อมูลตามความกว้างของจอภาพ
TYPEแสดงเนื้อหาหรือข้อมูลในแฟ้มข้อมูลที่กำหนดTYPE [d:] [path] [filename.[.ext]]
COPYใช้คัดลอกแฟ้มข้อมูลหนึ่ง หรือหลายแฟ้มข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลต้นทาง ไปยังแฟ้มข้อมูลปลายทาง อาจจะเป็นจากแผ่นดิสก์แผ่นหนึ่งหรือแผ่นดิสก์เดิมก็ได้COPY [d:] [path] [filename[.ext]] [d:] [path] filename[.ext]]
REN (RENAME]เปลี่ยนชื่อแฟ้มข้อมูล (ข้อมูลข้างในแแฟ้มข้อมูลยังเหมือนเดิม)REN [d:] [path] [oldfilename[.ext]] [newfilename[.ext]]
DEL (DELETE)ลบแฟ้มข้อมูลออกจากแฟ่นดิสก์DEL [d:] [path] [filename[.ext]]
PROMPT COMMANDเปลี่ยนรูปแบบตัวพร้อมรับคำสั่ง (system prompt) เป็นตัวใหม่ตามที่ต้องการPROMPT [prompt-text] or propt $p$
$ หมายถึงตัวอักษร
t หมายถึง เวลา
d หมายถึง วัน เดือน ปี
p หมายถึง เส้นทาง Directory ปัจจุบัน
v หมายถึง DOS VERSION NUMBER
g หมายถึง เครื่องหมาย >
l หมายถึง เครื่องหมาย <
q หมายถึง เครื่องหมาย =
MD (MAKE DIRECTORY)สร้าง subdirectory (ห้องย่อย) เพื่อจัดเก็บแฟ้มข้อมูลMD [d:] [path] [Dir_name]
CD (CHANGE DIRECTORY)เป็นคำสั่งในการเปลี่ยนไปใช้งาน subdirectory ที่ต้องการCD [d:] [path] [Dir_name]
CD\ (การย้ายกลับมาสู่ ROOT DIRECTORY
CD.. (การย้ายกลับมาที่ DIRECTORY)
RD (REMOVE DIRECTORY)ลบ subdirectory (ห้องย่อย) ที่สร้างด้วยคำสั่ง MDRD [d:] [path] [Dir_name]

คำสั่งภายนอก(EXTERNAL COMMAND)
คำสั่งภายนอกมี 2 นามสกุล
1.นามสกุลเป็น .COM เป็น file ที่บรรจุข้อมูลที่ถูกแปลงเป็นภาษาเครื่องแล้ว
2.นามสกุลเป็น .EXE เป็น file ที่บรรจุข้อมูลที่เขียนโดยใช้ภาษาระดับสูงและแปลงเป็นภาษาเครื่องแล้ว
คำสั่งหน้าที่รูปแบบ
TREEแสดงรายชื่อ directory ทั้งหมดในแผ่นดิสก์ ที่กำหนดTREE [d:] [/f]
/f หมายถึงรายชื่อแฟ้มข้อมูลในแต่ละ subdirectory ด้วย
SYS (SYSTEM)เป็นคำสั่ง copy แฟ้มข้อมูลที่ใช้ในการเปิดเครื่องลงในแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ ที่ไม่มีระบบ (เปิดเครื่องไม่ได้)SYS [d:]
CHKDSK (CHECK DISK)ตรวจสอบ directory หรือ file แสดงจำนวน memory ที่ใช้ไปและที่เหลืออยู่ รวมถึงเนื้อที่ บนแผ่นดิสก์ที่ใช้ไป และที่เหลืออยู่CHKDSK [d:] [path] [filename[.ext]] [/f] [/v]
/f หมายถึง การตรวจสอบเนื้อที่ที่เสียหาย
/v หมายถึง ให้แสดง directory และ แฟ้มข้อมูลที่ซ่อนอยู่
LABELเพื่อกำหนดชื่อ (volume label), เปลี่ยนหรือลบ volume label บนดิสก์LABEL [d:] [volume label]
FORMATกรณีที่ diskette ใหม่ จะเป็นการจัด track และ sector ของ diskette ใหม่ เพื่อให้เขียนข้อมูลได้
กรณีที่เป็น diskette ที่มีข้อมูลอยู่แล้วเมื่อใช้คำสั่งนี้ข้อมูลจะถูกล้างไปหมด พร้อมที่เขียนข้อมูลใหม่
FORMAT [d:] [/s] [/v]
/s หมายถึง ทำการ format โดยทำการคัดลอก โปรแกรมระบบดอส (BIO.COM, OS.COM, COMMAND.COM)
/v หมายถึง กำหนด volume label ให้ดิสก
DISKCOPY (COPY DISKETTEเป็นคำสั่งที่ใช้ copy file ทั้งหมดจากแผ่นดิสก์จากแผ่นหนึ่งไปใส่อีกแผ่นหนึ่ง แต่ถ้าแผ่นดิสก์อีกแผ่น ยังไม่ได้ทำการ format ก็จะทำการ format ให้โดยอัตโนมัติDISKCOPY [d:] [d:]


เรียบเรียงโดย มันทนา ไปเร็ว, สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คีย์บอร์ด


คีย์บอร์ด
เป็นอุปกรณ์รับเข้าพื้นฐานที่ต้องมีในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะรับข้อมูลจากการกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัสเพื่อส่งต่อไปให้กับคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ที่ใช้ในการป้อนข้อมูลจะมีจำนวนตั้งแต่ 50 แป้นขึ้นไป แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่มีแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก เพื่อทำให้การป้อนข้อมูลตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น
การวางตำแหน่งแป้นอักขระ จะเป็นไปตามมาตรฐานของระบบพิมพ์สัมผัสของเครื่องพิมพ์ดีด ที่มีการใช้แป้นยกแคร่ (shift) เพื่อทำให้สามารถใช้พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก ซึ่งระบบรับรหัสตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต กล่าวคือ เมื่อมีการกดแป้นพิมพ์ แผงแป้นอักขระจะส่งรหัสขนาด 7 หรือ 8 บิต นี้เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ 
เมื่อนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้งานพิมพ์ภาษาไทยจึงต้องมีการดัดแปลงแผงแป้นอักขระให้สามารถใช้งานได้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย กลุ่มแป้นที่ใช้พิมพ์ตัวอักษรภาษาไทยจะเป็นกลุ่มแป้นเดียวกับภาษาอังกฤษ แต่จะใช้แป้นพิเศษแป้นหนึ่งทำหน้าที่สลับเปลี่ยนการพิมพ์ภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษภายใต้การควบคุมของซอฟต์แวร์อีกชั้นหนึ่ง 
แผงแป้นอักขระสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ตระกูลไอบีเอ็มที่ผลิตออามารุ่นแรก ๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2524 จะเป็นแป้นรวมทั้งหมด 83 แป้น ซึ่งเรียกว่า แผงแป้นอักขระพีซีเอ็กซ์ที ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 บริษัทไอบีเอ็มได้ปรับปรุงแผงแป้นอักขระ กำหนดสัญญาณทางไฟฟ้าของแป้นขึ้นใหม่ จัดตำแหน่งและขนาดแป้นให้เหมาะสมดียิ่งขึ้น โดยมีจำนวนแป้นรวม 84 แป้น เรียกว่า แผงแป้นอักขระพีซีเอที และในเวลาต่อมาก็ได้ปรับปรุงแผงแป้นอักขระขึ้นพร้อม ๆ กับการออกเครื่องรุ่น PS/2 โดยใช้สัญญาณทางไฟฟ้า เช่นเดียวกับแผงแป้นอักขระรุ่นเอทีเดิม และเพิ่มจำนวนแป้นอีก 17 แป้น รวมเป็น 101 แป้น 
การเลือกซื้อแผงแป้นอักขระควรพิจารณารุ่นใหม่ที่เป็นมาตรฐานและสามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ 
สำหรับเครื่องขนาดกระเป๋าหิ้วไม่ว่าจะเป็นแล็ปท็อปหรือโน้ตบุ๊ค ขนาดของแผงแป้นอักขระยังไม่มีการกำหนดมาตรฐาน เพราะผู้ผลิตต้องการพัฒนาให้เครื่องมีขนาดเล็กลงโดยลดจำนวนแป้นลง แล้วใช้แป้นหลายแป้นพร้อมกันเพื่อทำงานได้เหมือนแป้นเดียว


รวบรวมจาก หนังสือเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ ช 0249 เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์
สถาบันส่งเสริมารสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ส่วนรับข้อมูล


ส่วนรับข้อมูล (Input)
เป็นอุปกรณ์รับเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่คือ แผงแป้นอักขระ (keyboard) และเมาส์ (mouse)
 
 
 
 
 
 
 
 


รวบรวมจาก หนังสือเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ ช 0249 เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์
สถาบันส่งเสริมารสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์


ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่มนุษย์ได้คิดประดิษฐ์ขึ้น เพื่อนำมาเสริมความสามารถของมนุษย์ในด้านการับรู้ การจำ การคำนวณ การเปรียบเทียบตัดสินใจ และการแสดงออก ดังนั้นคอมพิวเตอร์จึงมีโครงสร้างที่ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ให้สามารถทำงานเป็นระบบสนองความต้องการของมนุษย์
การประมวลผลข้อมูลของคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วยอุปกรณ์รับเข้า (input device) เพื่อรับข้อมูลและคำสั่งจากผู้ใช้ภายนอกเข้าไปเก็บอยู่ในอุปกรณ์เก็บข้อมูลหรือหน่วยความจำหลัก (main memory) คำสั่งที่เก็บในส่วนความจำหลักจะถูกนำไปตีความ และสั่งทำงานที่หน่วยประมวลผลกลาง ที่เรียกว่า ซีพียู ซึ่งเป็นหัวใจของการทำงานในคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่คำนวณและเปรียบเทียบข้อมูลที่เก็บในหน่วยความจำหลัก ผลจากการคำนวณหรือประมวลผลจะนำกลับไปเก็บยังหน่วยความจำหลัก และพร้อมที่จะนำออกแสดงที่อุปกรณืส่งออก (output device) กลับไปสู่ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ต่อไป ดังนั้นระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย ซีพียู หน่วยความจำ อุปกรณ์รับเข้า และอุปกรณ์ส่งออก


รวบรวมจาก หนังสือเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ ช 0249 เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์
สถาบันส่งเสริมารสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เทคโนโลยีการนำข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์


เทคโนโลยีการนำข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์
        สำหรับงานบางประเภทที่ต้องมีการป้อนข้อมูลเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เช่น สำนักงานทะเบียนราษฎร   หรือสำนักงานประจำสายการบิน งานเกี่ยวกับการป้อนข้อมูลเข้าระบบ  computer  มีความจำเป็นมาก และ เป็น
งานที่เสียเวลาและแรงงาน งานป้อนข้อมูลจึงจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าช่วย
        ทางด้านอุปกรณ์ป้อนข้อมูลเข้า Input แบ่งได้เป็น 5 กลุ่มใหญ่ๆ ซึ่งไม่รวมถึง input ด้วยระบบสื่อสารข้อมูล        กลุ่มที่ 1   ได้แก่ กลุ่มที่ป้อนด้วยตัวอักษร นั่นนั่นคือ แป้นพิมพ์ หรือ keyboard ซึ่งจะอ่านตัวอักษรและตัวเลขจากแป้นพิมพ์ตามที่ผู้พิมพ์กด เข้าไปเก็บไว้ใน Computer การป้อนข้อมูลเข้าแบบตัวอักษรอีกแบบหนึ่ง คือประเภทบัตรเจาะรู เครื่องอ่านบัตรเจาะรูจะอ่านเป็นรหัส อักขระตามที่ผู้ใช้เจาะไว้    แต่ปัจจุบันบัตรเจาะรูไม่ได้ใช้กันแล้ว

  บัตรเจาะรู
        กลุ่มที่ 2 ได้แก่ กลุ่มที่ป้อนข้อมูลด้วยอุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง การป้อนแบบนี้มีลักษณะเป็นการป้อนแบบ Graphic อุปกรณ์ที่เด่นชัดคือ Mouse ปากกาแสง Joystick Trackball
        กลุ่มที่ 3 เป็นการอ่านข้อมูลเป็นรูปภาพเข้ามาเก็บใน computer ได้แก่พวก Scanner , OCR หรือเครื่องอ่านตัวอักษรจากภาษาที่แสดง ได้ (ปัจจุบัน OCR ในภาษาอังกฤษได้ผลเป็นที่น่าพอใจ แต่ สำหรับภาษาไทย
ยังไม่ประสพผลสำเร็จ) เครื่องอ่านรหัสแถบ (Bar code)
        กลุ่มที่ 4 เป็นการป้อนข้อมูลด้วยเสียงได้แก่ระบบการจดจำเสียงพูด (Speech recognition) เป็นระบบทบทวนและตรวจสอบเสียงปัจจุบันยังไม่ได้ผลพอที่จะนำมาใช้งานอย่างจริงจัง   เนื่องจากเสียงของคนแต่ละคนต่างกัน
แม้แต่คนคนเดียวกันพูดสองครั้งยังไม่เหมือนกัน จึงยังนำมาใช้เป็นมาตรฐานไม่ได้
        กลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มที่ป้อนข้อมูลด้วยตัวตรวจจับพิเศษ เช่น Switch, Sensor วัดด้าน อุณหภูมิ ความดัน แล้วเปลี่ยนเป็นสัญญาณอนาลอกเป็น ดิจิตอล การป้อนข้อมูลแบบอัตโนมัตเป็นระบบ ที่ใช้ในการควบคุมเครื่องจักร อุปกรณ์ต่างๆ
        แป้นพิมพ์  อุปกรณ์อินพุตขั้นพื้นฐาน
        การพิมพ์เป็นเทคโนโลยีที่เก่าแก่เครื่องพิมพ์ดีดเครื่องแรกของโลกมี หลักฐานยืนยันว่ามีผู้ประดิษฐ์มาแล้วเกือบ 300 ปี แต่เครื่องพิมพ์ดีดที่ได้รับการจดทะเบียนและบันทึกหลักฐานไว้โดย เ?นรี่ มีล เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2257 พัฒนาการของพิมพืดีดก็ก้าวหน้าขึ้นมาเป้นลำดับ ครั้นถึงยุคสมัยอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แป้นพิมพ์ดีดจึงได้รับการนำมาใช้เป้นอุปกรณ์ ป้อนตัวอักษรให้กับคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ยุคแรกๆโดยเริ่มจากการป้อนผ่านบัตรเจาะรูแล้วให้เครื่องอ่านบัตรเจาะรูอีกครั้งหนึ่ง การป้อนข้อมูลตัวอักขระในยุคแรกจึงเน้นการป้อนข้อมูลเข้าด้วยรหัส ทางบริษัทไอบีเอ็มได้กำหนดรหัสตามโซน
ของรูที่เจาะ ซึ่งเรียกว่ารหัสเอปซีดิกมาจนถึงปัจจุบัน
      ความเป็นมาในการหาวิธีป้อนข้อมูลด้วยวิธีอื่น
        การสั่งงานคอมพิวเตอร์ด้วยแป้นพิมพ์ตัวอักขระยังสร้างความยุ่งยากต่อผู้ใช้ในบางเรื่อง เช่น ต้องจดจำข้อความที่เป็นคำสั่ง การป้อนคำสั่งจะต้องใช้ตัวอักษรหลายตัวเรียงต่อเนื่องกัน ทำให้เสียเวลา ระยะหลังจึงมีคนคิดพยายามหา
วิธีการป้อนข้อมูลในรูปแบบอื่น โดยเฉพาะสัญลักษณ์ทางกราฟิก เนื่องจากสามารถสื่อความหมายกับผู้ใช้ได้ดีกว่าตัวอักษรเสียอีก ดังนั้นระบบคอมพิวเตอร์ ในสมัยปัจจุบันจึงหันมาใช้ระบบ GUI-Graphic User Interface กันมาก และมีแนวทางที่จะแพร่หลายต่อไปอีกในโอกาสข้างหน้า
        จุดเริ่มต้นของความพยายามหาอุปกรณ์อินพุตมาช่วยงาน โดยเฉพาะในระบบของการติดต่อกับคอมพิวเตอร์มีมากกว่า 30 ปีแล้ว และมีการพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆเป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลังจากปีค.ศ. 1980 เป็นต้นมา มีการพัฒนาอุปกรณ์ช่วยอินพุตแบบต่างๆ ขึ้นมาใช้กันมาก
        กระดาษสเก็ตช์เป็นจุดเริ่มต้น
        กระดาษสเก็ตช์ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์อินพุตที่ใช้กับกราฟิกรุ่นแรก จุดเริ่มต้นของกระดาษสเก็ตช์เริ่มจากนายอิเวน อี. ซูเธอร์แลนด์(Ivan E. Sutherland) ได้ออกแบบสร้างขึ้นในขณะที่เขาเป็นนักศึกษาปริญญาเอกที่เอ็มไอทีเมื่อ
ปีค.ศ. 1962 และเสนอวิทยานิพนธ์ด้วยการใช้กระดาษสเก็ตช์เป็นอุปกรณ์อินพุตสำหรับระบบกราฟิกเพื่อการเขียนรูป ระบบกราฟิกที่ใช้นี้ได้รับการพัฒนาบนเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ TX-2 ของเอ็มไอที ดังรูป
          ในระหว่างนั้นอุปกรณ์อินพุตที่ใช้กำหนดรูปภาพทางกราฟิกมีให้ใช้แล้วคือ ปากกาแสง แต่ปากกาแสงมีข้อจำกัดคือ ใช้กำหนดจุด การลากเส้น แต่กระดาษสเก็ตช์ยังให้รายละเอียดเพิ่มเติมได้อีก เช่น กำหนดขนาดของเส้น ความสัมพันธ์ของรูปกราฟิก ซูเธอร์แลนด์ได้พัฒนาระบบกราฟิกที่ใช้หลักการของวินโดว์มีการขยายหรือย่อภาพได้
เรื่องราวเกี่ยวกับเม้าส์
          ช่วงปี ค.ศ. 1950-1960 การใช้อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งที่รู้จักกันดีคือปากกาแสง การใช้ปากกาแสงจะต้องชี้ตำแหน่งลงไปบนจอภาพ และต้องยกออกจากจอภพไปมา ทำให้ยุ่งยากต่อการใช้และที่สำคัญคือเทคโนโลยีของปากกาแสงต้องรอให้จอภาพสแกน
จุดสว่างวิ่งไปทั้งจอเพื่อซิงก์กับตัวรับที่ปากกา จึงต้งอาศัยเทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนและทำให้มีราคาแพง
          ในปี ค.ศ. 1964 Engelbart ได้ทำการทดสอบอุปกรณ์ชี้ตำแหน่งที่มีในขณะนั้น ซึ่งได้แก่ ปากกาแสง จอยสติ๊ก ตลอดจนอุปกรณ์ลากเส้นกราฟที่ต่อกับโพเทนซิโอมิเตอร์ เขาพบว่าอุปกรณ์ชี้ตำแหน่งเหล่านั้นยังใช้งานได้ไม่ดีนักโดยเฉพาะการที่จะใช้ชี้ตำแหน่งและลากเส้นบางอย่างไปด้วยกัน พลันเขาก็นึกไปถึงอุปกรณ์ที่เขาใช้ร่วมกับเพื่อนร่วมชั้นในปี ค.ศ. 1940 ที่ใช้ในการวัดพื้นที่ที่เรียกว่า พลานิมิเตอร์(planimeter) ซึ่งประกอบด้วยแขนสองแขน พร้อมลูกล้อที่ติดกับแขน ลูกล้อนั้นจะเลื่อนหมุนไปตามแกนคือ แกน X และ
แกน Y ในขณะที่เลื่อนปลายแขนไป และหากเขาติดโพเทนซิโอมิเตอรไว้ที่ลูกกลิ้งที่หมุนบอกตำแหน่งแกน X และ แกน Y เขาก็น่าจะทำอุปกรณ์ชี้ตำแหน่งให้กับคอมพิวเตอร์ได้และจุดนี้เองเป็นต้นเหตุให้เกิดความคิดในการออกแบบเมาส์ที่มีใช้ในยุคต่อมา
          เมาส์ตัวแรกยังมีขนาดใหญ่ เพราะต้องใช้แกนหมุนของโพเทนซิโอมิเตอร์ การหมุนนี้จะเป็นสัดส่วนของการเลื่อนเคอร์เซอร์ไปตามแกน X และแกน Y การเลื่อนเคอร์เซอร์ไปมา
ในระบบคอมพิวเตอร์จึงทำได้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็สามารถควบคุมการทำงาน การตรวจสอบและใช้ในการชี้ตำแหน่งได้ง่าย
หันมาใช้ลูกบอลเล็ก
          กลุ่มของ Engelbart ได้พัฒนาเมาส์ต่อไปอีก จนกระทั่งสามารถหาสัดส่วนของการหมุนโพเทนซิโอมิเตอร์กับการเคลื่อนที่จริงบนจอภาพ เพื่อให้ง่ายต่อการควบคุม และในที่สุดก็ได้พัฒนามาเป็นลูกบอลเล็กๆที่กลิ้งไปมาได้ทุกทิศทาง เพื่อเลื่อนแกนหมุนสองแกนของโพเทนซิโอมิเตอร์
          อย่างไรก็ตาม ในระยะหลังได้มีการพัฒนากลไกให้สามารถใช้งานง่ายขึ้น เช่น ใช้การเปลี่ยนสัญญาณจากอะนาลอกเป็นดิจิตอล การใช้แสงส่องพื้นโดยมีกริดเล็กๆ บอกตำแหน่งการเคลื่อนที่ไปมา เมาส์จึงมีรูปร่างอยางที่เห็น
          เมาส์ถูกนำมาประยุกต์จนเป็นที่แพร่หลายอย่างรวดเร็ว เพราะบริษัทซีล็อกซ์ได้พัฒนาระบบ GUI ใช้วินโดว์เมนูในรูปแบบที่ใช้ตัวชี้ตำแหน่งช่วยจึงเป็นจุดขยายตัวของการใช้เมาส์ หลังจานั้นต่อมาแอปเปิ้ล ลิซ่าและแมคอินทอชก็หันมาใช้เมาส์เป็นอุปกรณ์ประจำสำหรับการใช้ชี้ตำแหน่ง เมาส์จึงได้รับการกล่าวถึงและแพร่หลายคุ้นเคย
กับผู้ใช้เป็นอย่างยิ่ง
          ในปัจจุบันเมาส์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในระบบวินโดว์ ตลอดจนการชี้ตำแหน่งในเวอร์กสเตชัน ในระบบโอเอสทู ระบบไมโครซอฟต์วินโดว์ ดังรูป

เส้นทางการพัฒนาระบบยูสเซอร์อินเตอร์เฟสที่ใช้เมาส์เป็นตัวชี้ตำแหน่ง
สงครามปุ่มกด
          ในยุคแรกของ SRI ที่ทำการพัฒนาเมาส์ได้กำหนดให้มีปุ่มกด 3 ปุ่มเรียงกัน บริษัทซีล็อกซ์ก็ใช้ปุ่มกด 3 ปุ่มเช่นกัน ในขณะที่เมาส์ของบริษัทแอปเปิ้ลที่เอามาใช้กับเครื่องแมคอินทอชใช้ปุ่มกดเพียงปุ่มเดียว  และจัดเป็นอุปกรณ์อินพุตหลักสำคัญในระบบ (ดูที่รูป)
          แต่ที่เมาส์ของบริษัทอื่นทั้งหมดที่ใช้กันในขณะนี้ใช้ปุ่มกด 2 หรือ 3 ปุ่ม ลักษณะการกดปุ่มและจะใช้กี่ปุ่มดี จะมีมาตรฐานที่ใช้อย่างไรคงต้องติดตามกันต่อไป ส่วนขนาดและรูปร่างของเมาส์มีขนาด 6 x 10 เซนติเมตร ซึ่งพอเหมาะกับมือของผู้ใช้
          นอกจากสงครามปุ่มกดแล้ว สงครามขั้นต่อมาคือลักษณะของวินโดว์และตำแหน่งต่างๆที่ผู้ใช้จะสามารถเชื่อมติดต่อด้วย ลักษณะของเมนู การทำ Pop หรือ Pull ลักษณะของไดอะลอกที่ใช้ตอบสนองกับผู้ใช้ ตลอดจนรูปร่างของสัญลักษณ์บนจอภาพ

ตัวอย่างของสัญลักษณ์ที่ออกแบบให้แตกต่างกัน
ดิจิไตเซอร์
          ดิจิไตเซอร์เป้นชื่อย่อๆของการเรียก ดิจิไตซิ่งแท็บเล็ต ซึ่งเป็นอุปกรณ์อินพุตของไมโครคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปจะประกอบด้วยกระดานหนึ่งแผ่นกับอุปกรณ์ชี้ตำแหน่งบางทีเราเรียกว่า ทรานซดิวเซอร์ กระดานแท็บเล็ตเป็นกระดานเรียบเพื่อใช้เป้นพื้นที่สำหรับการเขียนรูป

ตัวอย่างการใช้ดิจิไตซิ่งแท็บเล็ตในงาน CAD
          บนกระดานแท็บเล็ตจะประกอบด้วยเส้นลวดแนวแกนดิ่งและแนวแกนนอนที่ใช้ในการแทนโคออร์ดิเนตทางแกน X และ Y เส้นลวดภายในตรวจสอบสนามแม่เหล้กที่ส่งออกมา เพื่อเหนี่ยวนำลวดทางแกน X และ Y ชี้บอกตำแหน่ง X,Y
          สเปกของดิจิไตซิ่งแท็บเล็ตที่สำคัญ คือความละเอียดของการกำหนดตำแหน่งหรือเรียกว่ารีโซลูชัน ค่าของรีโซลูชันจะเป้นตัวบอกว่าจุดที่อยู่บนกระดานแท็บเล็ตนี้มีระยะห่างน้อยที่สุดเท่าไดที่จะแยกออกจากกันได้ หากผู้ผลิตใช้ค่ารีโซลูชันเป็น 200 เส้นต่อนิ้ว(lpi) ก็หมายความว่ากระดานขนาด 12 x 12 นิ้ว ค่าความละเอียดของจุดในแนว
แกนทั้งสองจะแสดงจุดได้จากโคออร์ดิเนต 0-2400 หรือค่าความละเอียดบนกระดานแท็บเล็ตนี้เท่ากับ 1/200 นิ้ว
          ส่วนค่าความถูกต้อง(accuracy) เป็นค่าที่ใช้บอกความถูกต้องของการตรวจสอบเทียบกับมาตรฐานที่รู้ เช่น การวัดความถูกต้องของผู้ผลิตกำหนดไว้จาก 0.001-0.035 นิ้ว ซึ่งค่าความถูกต้องนี้จะสัมพันธ์กับจำนวนเส้นต่อนิ้ว
          การต่อเชื่อมกับคอมพิวเตอร์จะมีส่วนที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งคือ การส่งข้อมูล ซึ่งส่วนใหญ่ต่อเชื่อมแบบอนุกรมและอัตราการส่งคือการสื่อสารที่จะส่งข้อมูลได้กี่จุดต่อวินาที
การอินพุตด้วยรูปภาพ
           รูปที่ใช้ในงานทางด้านคอมพิวเตอร์เป้นจุดเล็กๆเรียงต่อกันแต่ละจุดจะเป็นเพียงจุดขาวดำ หรือมีสัดส่วนความเข้มหรือสี ในปัจจุบันอุปกรณ์ที่เรียกว่าอิมเมจสแกนเนอร์เป็นอุปกรณ์ที่มีราคาไม่แพงนัก สแกนเนอร์ที่ใช้มือถือ(ดูภาพประกอบในรูปที่ 7)อันหนึ่งราคาไม่ถึงหนึ่งหมื่นบาท สแกนเนอร์ชนิดสแกนทีละแผ่นก็เป็นอุปกรณ์อินพุตอย่างหนึ่ง ที่จะอ่านค่าภาพเข้าไปเก็บได้
          ภาพที่อ่านได้จะผ่านการกำหนดเป็นจุดของข้อมูล ดังนั้นหากภาพหนึ่งมีรายละเอียดและสแกนเนอร์ให้ความละเอียดได้ 300 จุดต่อนิ้ว ดังนั้นข้อมูลขนาด 12 x 12 นิ้ว จะมีข้อมูลที่ต้องเก็บมากมายมหาศาลเท่ากับ 12 x 12 x 300 x 300           สแกนเนอร์โดยทั่วไปจะเชื่อมต่อกับระบบไมโครคอมพิวเตอร์โดยมีระบบฮาร์ดแวร์ พิเศษควบคุม ทั้งนี้เพราะต้องนำข้อมูลมหาศาลเก็บเข้าไว้ในหน่วยความจำหรือดิสค์ ดังนั้นจึงต้องมีขบวนการดีเอ็มเอพิเศษช่วยประกอบด้วย
          จากสแกนเนอร์เมื่อเก็บภาพได้ ภาพที่ได้จะเป็นตัวอักษรและมีซอฟแวร์ที่พัฒนา ขึ้นมาแปรค่าให้เป้นตัวอักษรที่รู้จักกันดี เราเรียกระบบนี้ว่า OCR-Optical Character Reader คือระบบการรู้นำตัวอักษร ระบบนี้กำลังได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นเป็นลำดับ อย่างไรก็ตาม ระบบนี้ยังมีข้อยุ่งยากทางด้านทฤษฎีและการแปรค่าความถูกต้องของการแปรความหมาย
อันเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง
บาร์โค้ดหรือรหัสแถบ
          บาร์โค้ดหรือรหัสแถบได้รับการพัฒนาานานกว่า 20 ปีแล้ว รหัสแถบนี้ได้รับการประยุกต์ใช้งานในห้างสรรพสินค้า โรงงานอุตสาหกรรม การทหาร อุตสาหกรรมการผลิตการประกันภัย ฮลฮ รหัสแถบนี้เป็นเสมือนสัญลักษณ์ที่ใช้แถบรหัส ซึ่งต้องอาศัยเครื่องอ่านจึงจะแปรค่าตัวเลขหรือตัวอักษรนั้นๆออกมา
          รหัสแถบที่ใช้ในยุคต้นๆใช้รหัสที่ชื่อ UPC-Universal Product Code ซึ่งได้รับการศึกษาและออกแบบมากว่า 20 ปีแล้ว และหลังจากนั้นก็มีการเสนอแนวความคิดที่ใช้แถบรหัสเพื่อจุดประสงค์อื่น และเน้นให้มีการถอดรหัสได้ง่ายและไม่ผิดพลาด
          ในปัจจุบันความต้องการใช้รหัสแถบมีมากขึ้นจึงต้องมีการสร้างเครื่องถอดรหัสมาใช้ ในซูเปอร์มาเก็ตใช้รหัสแถบที่มีตัวเลข 11 ตัวเพื่อใช้ในการแยกแยะชนิดของสินค้า และเมื่อเครื่องถอดรหัสได้ก็จะมองหาราคาในแฟ้มราคาแล้วพิมพ์รายการหรือรวมยอดให้
          เครื่องถอดรหัสแถบจึงต้องมีจุดมุ่งหมายให้อ่านแถบรหัสและแปรค่าโดยมีความต้องการพิเศษของการใช้รหัสแถบดังนี้
   ความเชื่อถือในการอ่านและถอดรหัสให้ถูกต้อง
 ต้องลดต้นทุนการพิมพ์รหัสแถบ
 สามารถถอดรหัสให้ได้ถึงแม้รหัสจะมีความหนาแน่นของแถบสูง
 ต้องทำให้เครื่องอ่านมีราคาถูกลง
          รหัสแถบที่ใช้กันนั้นใช้หลักการของเดลต้าคอมมูนิเคชั่นในการกำหนดรหัส ลองพิจารณาจากรูป
           รหัสแบบเดลต้าเป็นวิธีที่ง่ายมากโดยการแบ่งเป็นโมดูลย่อยๆ ที่จะกำหนดค่า 0 หรือ 1 โมดูล 1 จะแทน ด้วยช่องว่างสีขาวหรือแถบดำหนึ่งแถบจึงแทนตัวเลข 0 หรือ 1หลายโมดูล ส่วนอีกแบบหนึ่งเราเรียกว่า รหัสความกว้างโดยใช้ความกว้างสองขนาดแทนตัวเลข 0 หรือ 1 ลองพิจารณาจากรูปที่ 8 จะเห็นว่าเราเริ่มที่ 1 ใช้แถบกว้าง แต่ถ้ารหัสตัวต่อมาเป็น 0 ก็จะได้แถบขาวที่แคบกว่า และถ้ามีการเปลี่ยนค่าก็จะเปลี่ยนขนาดด้วย
สิ่งที่สำคัญของการถอดรหัสคือเครื่องสแกนอ่านรหัสแถบจะมีความเร็วในการสแกนไม่เท่ากน เช่น เครื่องแสกนที่ใช้มือถือ ดังนั้นจึงต้องคำนึงถึงเรื่องนี้เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามอาจต้องหาวิธีการซิงโครไนซ์ เพื่อเป็นตัวกำหนความกว้างในตัวเองเสมือนเป็นสัญญาณนาฬิกา
รู้จักกับรหัส UPC
          UPC-Universal Product Code เป็นรหัสที่ใช้ในการแทนรหัสสินค้าที่ใช้ในการแทนรหัสสินค้าที่ใช้ในห้างสรรพสินค้าของอเมริกันมากว่า 15 ปี แต่ละรหัส
ประกอบด้วยตัวเลข 12 หลัก ตัวเลขแต่ละตัวใช้รหัสแบบ 7 โมดูล โดยมีแถบบาร์ สีดำและขาวอย่างละ 2 แถบ เราจะเรียกการแทนรหส UPC แต่ละตัวว่ารหัส delta(7,2) คือใช้ หลักการเดลต้า 7 โมดูล 2 คู่แถบดำขาว

            ตัวเลขแต่ละตัวแบ่งแถบออกมาเป็นบาร์ได้ดังรูป ซึ่งจะเห็นได้ว่าเราแบ่งรหัสตามโมดูลให้มีแถบดำสองแถบและขาวสองแถบอย่างไรก็ตามการกำหนดรหัสนี้จะ
ต้องคำนึงถึงการอ่านด้วยเพราะจากสภาพการอ่านจริงเราสามารถอ่านแถบจากซ้ายไปขวาหรือขวาไปซ้ายก็ได้ ดังนั้นรหัสที่แทนตัวเลขทุกตัวจะต้องอ่านได้จากซ้ายไปขวา หรือขวาไปซ้ายโดยไม่ซ้ำกับรหัสอื่น
            การแทนรหัส UPC ของตัวเลข 0-9 แสดงได้ดังตาราง

ซ้าย (คู่)ขวา(คู่)ความกว้าง(รูปแบบ)
0000110111100103,2,1,1
1001100111001102,2,2,1
2001001111011002,1,2,2
3011110110000101,4,1,1
4010001110111001,1,3,2
5011000110011101,2,3,1
6010111110100001,1,1,4
7011101110001001,3,1,2
8011011110010001,2,1,3
9000101111101003,1,1,2
            ซึ่งจากตารางจะเห็นว่าเลขที่ 1แถบรหัสจะเป็น 2,2,2,1 หมายถึงแถบกว้าง 2 หน่วย กลับกัน ถ้าจากซ้ายเป็น 00110001 จะเป็นแถบขาวกว้างสองโมดูล แถบดำสองโมดูล ขางสองโมดูลและดำหนึ่งโมดูล สังเกตว่า 2,2,2,1 เมื่อกลับข้างจากขวาจะเป็นรหัส 1,2,2,2 ซึ่งก็ไม่ไปซ้ำกับรหัสใด ดังนั้นเมื่อเครื่องอ่านย้อนกลับก็ได้รหัส 1,2,2,2
จึงไม่ซ้ำกับรหัสใดที่จะทำให้ผิดพลาดได้
          รหัส UPC ที่อยู่ในแถบสินค้าแสดงดังรูปที่ 10 รหัสที่อยู่บน UPC แบ่ง โซนตัวเลขเป็นดังนี้
 แถบกำหนดของซ้ายใช้ตัวรหัส 101
 ตัวเลข 6 ตัวแบบคี่ (คอลัมน์ซ้ายในตารางที่ 1) เลขหลักแรกแทนประเภทอุตสาหกรรม เช่น
        0 เป็นประเภทของชำ
        3 เป็นประเภทยา
        เลขห้าหลักต่อมาคือรหัสผู้ผลิต
 แถบกำหนดกึ่งกลาง (01010)
 ตัวเลข 6 ตัวแบบคู่ (คอลัมน์ขวานตารางที่ 1) เลขห้าหลักแทนรหัสชนิดหนึ่งหลักเป็นตัวเลข check digit
ชื่อรหัสโมดูลจำนวนสัญลักษณ์ที่แทนได้จำนวนโมดูล
UPCdelta (7,2)107
Codel128delta (11,3)10611
Codel93delta (9,3)489
Codel39Width (8,3)4413.5 (ค่าเฉลี่ย)
CodebarWidth (7,2)1610
 แถบกำหนดของขวา
            นอกจากนี้จังมีการกำหนดรหัสแถบเป็นแบบอื่นอีก เช่น รหัส 128 เป็นรหัสแบบเดลต้า 11 โมดูล 3 คู่แถบแทนรหัสแต่ละตัวได้ 106 ตัว ซึ่งนำมาใช้ในการแทนตัวอักษรเหมือนรหัสแอสกีได้ตารางข้างต้น เป็นตารางที่สรุปถึงรหัสแถบแบบต่างๆ ซึ่งมีวิธีการกำหนดเป็นมาตรฐานตลอดจนการใช้งาน กันในโอกาสต่างๆ เพราะรหัส
UPC แทนได้เฉพาะตัวเลข 0-9 ย่อมไม่เพียงพอจึงต้องมีรูปแบบอย่างอื่นเข้ามาช่วยเสริมรหัสแถบทีใช้ในปัจจุบันกำลังพัฒนาไปในด้านการประยุกต์ และจะมีบทบาท
ที่สำคัญในงานต่างๆ อีกมากแม้แต่บัตรเอทีเอ็มก็มีการบันทึกในแถบแม่เหล็กแบบ รหัสแถบอนาคตยังต้องพัฒนาต่อไปด้วยเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาให้ก้าวหน้าเช่นนี้ จะมีอุปกรณ์อินพุตอีกหลายรูปแบบที่นำมาใช้ในงานด้านต่างๆ เช่น OMR-Optical Mark Reader ที่ใช้ในการตรวจสอบ ระบบรับรู้เสียงพูด เป็นต้น
            อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีหลายอย่างยังคงต้องพัฒนา และมีแนวโน้มที่จะเป็นไปได้ เช่น การอ่านข้อความให้คอมพิวเตอร์เสมือนการพิมพ์การอ่านภาพ และแปลความหมายในลักษณะที่เรียกว่า image processing ฮลฮ ก็เห็นจะต้องคอยติดตามดูระบบอินพุตที่จะพัฒนาต่อไปว่าจะพัฒนาก้าวหน้าได้สักเพียงไร

รวบรวมจาก บทเรียน Online วิชา 204323 ไมโครโปรเซสเซอร์และการออกแบบไมโครคอมพิวเตอร์ รศ.ยืน ภู่วรวรรณ